ศึกษาดูงาน ภูเก็ต พังงา กระบี่

วันอังคารที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2553

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการของครูสุนทรียา ปิ่นวัฒนชัย โรงเรียนวัดโกสินารายน์


ชื่อผลงาน รายงานการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดชนิดของคำ

ชื่อผู้รายงาน นางสุนทรียา ปิ่นวัฒนชัย ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการ

โรงเรียนวัดโกสินารายน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี


บทคัดย่อ


รายงานการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดชนิดของคำ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Pre-Experimental Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดชนิดของคำ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง ชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดชนิดของคำ

กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดโกสินารายน์ อำเภอบ้านโป่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 2 จำนวน 25 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยประกอบการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดชนิดของคำ จำนวน 7 แผน 2) แบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดชนิดของคำ จำนวน 7 เล่ม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องชนิดของคำ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ

วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดชนิดของคำ หาค่า ที (t - test dependent) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดชนิดของคำ และหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ของความคิดเห็นที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดชนิดของคำ


ผลการวิจัยพบว่า

1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดชนิดของคำ ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 โดยมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.25 / 86.20

2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องชนิดของคำ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องชนิดของคำ หลังการทดลองใช้แบบฝึกเสริมทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดชนิดของคำแตกต่างจากก่อนการทดลองใช้แบบฝึกเสริมทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2ชุดชนิดของคำ โดยที่คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องชนิดของคำ (= 34.48) ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนกาทดลองใช้แบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดชนิดของคำ ( = 23.44) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งยอมรับสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้

3) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดโกสินารายน์ที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ชุดชนิดของคำ ทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านบรรยากาศ และด้านประโยชน์ของแบบฝึกเสริมทักษะ พบว่า ระดับ ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะ ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 4.18, S.D. = 0.65)




วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการของครูดลฤดี ประโยชน์มี

ชื่อเรื่อง : การศึกษาผลการใช้ชุดการเรียนรู้เรื่องมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้รายงาน นางสาวดลฤดี ประโยชน์มี
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้ เรื่อง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังใช้ชุดการเรียนรู้ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับนักเรียนที่เรียนโดยวิธีการสอนแบบปกติ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนรู้ เรื่องมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนวัดหนองเสือ (ประชาอุทิศ) ปีการศึกษา 2551 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้คือ ชุดการเรียนรู้เรื่องมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ( % ) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t)

ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดการเรียนรู้ เรื่อง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.48/82.22 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 เป็นไปตามสมมตติฐาน
2. ผลการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม มีความแตกต่างกัน โดยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้เรื่องมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมกับนักเรียนที่เรียนโดยวิธีสอนแบบปกติแตกต่างกัน โดยนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้มีผลสัมฤทธิ์สูงกว่า
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนรู้เรื่องมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เนื่องจากชุดการเรียนรู้มีหลากหลายกิจกรรม สีสันสวยงาม และได้ไปเรียนรู้ในชุมชนทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สนใจศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาชุดการเรียนรู้เรื่องมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ครูดลฤดี ประโยชน์มี โรงเรียนวัดหนองเสือ(ประชาอุทิศ) ได้ค่ะ

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ขอไว้อาลัยแด่ ผอ.สะอาด ลัคนาโชค ที่แสนดีของเรา



วันนี้โรงเรียนคงมีแต่ความเงียบงัน.......ผอ.สะอาด ที่แสนดีท่านจากเราไปแล้วจริงๆ

ทุกคนในโรงเรียน ขอไว้อาลัยแด่ ผอ.สะอาด ลัคนาโชค ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหนองเสือ(ประชาอุทิศ) ที่จากพวกเราไปอย่างไม่มีวันกลับ ขอให้ ผอ.พักผ่อนให้สบาย และอย่าได้ห่วงโรงเรียนเลย เพราะเราจะช่วยกันดูแลโรงเรียนวัดหนองเสือ(ประชาอุทิศ) ของเราให้เจริญก้าวหน้าในทุกๆ ด้านต่อไปอย่างเต็มที่ และพวกเราจะระลึกถึงท่านเสมอ ไม่มีวันลืมเลือน

ด้วยผลของคุณงามความดีที่ท่านได้กระทำมาตลอดชั่วชีวิต โปรดนำทางให้ดวงวิญญาณของท่านไปสู่สุขคติด้วยเทอญ

ด้วยรักและเคารพอย่างสูง
คณะครู ลูกจ้าง และนักเรียนโรงเรียนวัดหนองเสือ(ประชาอุทิศ)





วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการของครูปราณี ศรีสำราญ

ชื่อเรื่อง รายงานผลการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปชุดลูกเสือคะนองที่หนองเสือ กิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ปีการศึกษา 2551
ผู้รายงาน นางปราณี ศรีสำราญ
บทคัดย่อ
รายงานผลการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปชุดลูกเสือคะนองที่หนองเสือ กิจกรรมลูกเสือ สามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนวัดหนองเสือ (ประชาอุทิศ) ปีการศึกษา 2551 มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพ ของ บทเรียนสำเร็จรูปชุดลูกเสือคะนองที่หนองเสือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มที่ใช้บทเรียนสำเร็จชุดลูกเสือคะนองที่หนองเสือสูงกว่า นักเรียนกลุ่มที่ใช้สอนตามปกติ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อบทเรียนสำเร็จรูปชุดลูกเสือคะนองที่หนองเสือ กลุ่มตัวอย่างในการทดลอง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนวัดหนองเสือ (ประชาอุทิศ) ปีการศึกษา 2551 จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองประกอบด้วย 1.)บทเรียนสำเร็จรูปชุดลูกเสือคะนองที่หนองเสือ กิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนวัดหนองเสือ (ประชาอุทิศ) จำนวน 12 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเสือ กิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนวัดหนองเสือ (ประชาอุทิศ) จำนวน 30 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนสำเร็จรูปชุดลูกเสือคะนองที่หนองเสือ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) ค่าความยากง่าย(p) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยค่า t-test ( Dependent Samples) ค่าประสิทธิภาพ (E1 / E2 ) ของบทเรียนสำเร็จรูปชุดลูกเสือคะนองที่หนองเสือ กิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 และ ค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้บทเรียนสำเร็จรูปชุด ลูกเสือคะนองที่หนองเสือ กิจกรรมลูกเสือ สามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ผลการพัฒนาพบว่า 1.บทเรียนสำเร็จรูปชุดลูกเสือคะนองที่หนองเสือ กิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนวัดหนองเสือ (ประชาอุทิศ) จำนวน 12 เล่ม มีประสิทธิภาพ (E1 / E2 )เท่ากับ 82.17/ 82.80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ค่าความยากง่าย (P) 0.33-73 และค่าอำนาจจำแนก (r) 0.21-75 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 82.82 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0 .01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 ที่มีต่อบทเรียนสำเร็จรูปชุดลูกเสือคะนองที่หนองเสือมีค่าเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย µ = 4.19,และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานs =0.52
+++++++++++++++++++++++++
ผู้สนใจ สามารถศึกษาการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปชุดลูกเสือคะนองที่หนองเสือ กิจกรรมลูกเสือ สามัญรุ่นใหญ่ หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ เพิ่มเติมได้ที่ ครูปราณี ศรีสำราญ ครูชำนาญการโรงเรียนวัดหนองเสือ(ประชาอุทิศ) โทรศัพท์ 032-293014

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการของครูกัญญา มีทรัพย์

ชื่อเรื่อง รายงานผลของการใช้การ์ตูนเสริมบทเรียน ชุดเศรษฐศาสตร์รอบตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้รายงาน นางกัญญา มีทรัพย์

บทคัดย่อ
การดำเนินการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สร้างการ์ตูนเสริมบทเรียน ชุดเศรษฐศาสตร์รอบตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดหนองเสือ(ประชาอุทิศ) ที่เรียนด้วยการ์ตูนเสริมบทเรียน ชุดเศรษฐศาสตร์รอบตัว กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และวิธีสอนตามคู่มือครู และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดหนองเสือ (ประชาอุทิศ) ที่มีต่อการใช้การ์ตูนเสริมบทเรียน ชุดเศรษฐศาสตร์รอบตัวกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ประกอบไปด้วย กลุ่มควบคุม คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 ปีการศึกษา 2551 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนวัดหนองเสือ (ประชาอุทิศ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 2 อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จำนวน 21 และกลุ่มทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 ปีการศึกษา 2551 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนวัดหนองเสือ (ประชาอุทิศ) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 2 อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ 1)การ์ตูนเสริมบทเรียน ชุดเศรษฐศาสตร์รอบตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การ์ตูนเสริมบทเรียน ชุดเศรษฐศาสตร์รอบตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง เศรษฐศาสตร์รอบตัว และ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดหนองเสือ (ประชาอุทิศ) ที่มีต่อการใช้การ์ตูนเสริมบทเรียน ชุดเศรษฐศาสตร์รอบตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน การทดสอบค่าที และการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ
ได้ผลการศึกษา ดังนี้ 1. การ์ตูนเสริมบทเรียน ชุดเศรษฐศาสตร์รอบตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้รายงานได้พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.11/ 89.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง เศรษฐศาสตร์รอบตัว ของนักเรียนกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง แตกต่างกันโดยที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยนวัตกรรมการ์ตูนเสริมบทเรียน ชุดเศรษฐศาสตร์รอบตัว ( = 26.70) สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของนักเรียนกลุ่มควบคุม ที่เรียนด้วยวิธีสอนตามคู่มือครู ( = 23.43) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งยอมรับตามสมมติฐานที่ได้ตั้งไว้
3. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดหนองเสือ (ประชาอุทิศ) ที่มีต่อการใช้การ์ตูนเสริมบทเรียน ชุดเศรษฐศาสตร์รอบตัวทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.91, S.D. = 0.23)
ดังนั้น การ์ตูนเสริมบทเรียน ชุดเศรษฐศาสตร์รอบตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นสามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้
.......................................................................
ผู้สนใจศึกษาการสร้างการ์ตูนเสริมบทเรียน ชุดเศรษฐศาสตร์รอบตัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชุดนี้ สามารถติดต่อได้ที่ นางกัญญา มีทรัพย์ ครูชำนาญการ โรงเรียนวัดหนองเสือ(ประชาอุทิศ) โทรศัพท์ 0-3229-3014